วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬา รักบี้ฟุตบอล

รักบี้ ฟุตบอล

          มีต้นกำเนิดที่ไม่แน่ชัด แต่ที่จุดเริ่มต้นให้มีการเล่นตามรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มาจาก โรงเรียนรักบี้ จากโรงเรียนนี้เกมได้แพร่หลายและมาไกลจนถึงเมืองไทย
          สำหรับรักบี้ในเมืองไทยนั้น เริ่มต้นด้วยชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวอังกฤษที่เข้ามาทำการค้าหรือเข้ามาเป็นครู ในโรงเรียนของรัฐ ได้นำรักบี้เข้ามาเล่น โดยใช้สถานที่เล่นคือทุ่งพระสุเมรุ (ท้องสนามหลวงปัจจุบัน) ต่อมาปี 2444 พระพุทธเจ้าหลวงได้ให้ใช้ที่ดินว่างเปล่าที่ทุ่งสระปทุมวันเป็นที่เล่นกีฬา ของชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า "ราชกรีฑาสโมสร" เกิดเป็นสโมสรกีฬาหลายชนิดมาถึงปี 2452 มีการเล่นรักบี้อย่างจริงจัง ทุกวันเสาร์โดยขั้นแรกเป็นการเล่นกันเองระหว่างต่างชาติล้วนๆหลังจากนั้นคน ไทยที่ไปศึกษายังประเทศอังกฤษและเล่นรักบี้ที่นั่นเมื่อกลับมาเมืองไทยได้ เข้าร่วมเล่นเรื่อยมา ครั้นต่อมาเมื่อมีจำนวนคนไทยและที่ไม่ใช่คนอังกฤษเล่นมากขึ้น ได้รวมตัวกันตั้งเป็นทีมแข่งขัน กันเอง 3 ทีม คืออังกฤษ สก๊อตแลนด์ และทีมรวมจากหลาย ๆ ชาติรวมทั้งคนไทย ชิงถ้วย HAMSAIRS

          ต่อมาช่วงปี 2472 พระสุทัศน์ พงศ์พิสุทธิ์ (ม.ล.กิ่งสุทัศน์) นักเรียนเก่าอังกฤษซึ่งโปรดปรานเกมรักบี้มากที่สุด มารับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลขก็รวบรวมข้าราชการหัดให้เล่นรักบี้ อาทิเช่น อาจารย์เจือ จักษุรักษ์ นายไชย เตชะเสน นายสกนธ์ ศาสตราภัย ฝึกหัดเล่นและได้ไปฝึกซ้อมที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โดยเกณฑ์เด็กนักเรียนรุ่นโตเข้าร่วมฝึกหัดเล่นด้วยกัน
     
          ปี 2481 เสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือจัดตั้งองค์กรขึ้นบริหารงานรักบี้คือตั้งเป็น "ยูเนี่ยน" โดยใช้ชื่อว่า SIAM RUGBY FOOTBALL UNION มีที่ทำการอยู่ที่ราชกรีฑาสโมสร ถนนสนาม ปทุมวัน พระนคร โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นองค์นายก และเมื่อเดือนตุลาคม 2482 ได้จัดให้มีการแข่งขันชิงถ้วยระหว่างสมาชิกเป็นครั้งแรกเป็นการแข่งขันชิง ชนะเลิศ "ถ้วยบริติชเคาน์ซิล" (BRITISH COUNCIL CUP) ท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยจัดหาถ้วยมามอบให้และได้ใช้เป็นถ้วย แข่งขันมาจนทุกวันนี้ทำให้กิจการของสมาคมรุดหน้ามีทีมสมัครเข้าเป็นสมาชิก และส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันหลายสถาบันรวมทั้งการแข่งขันประเภทนักเรียนพระรา ชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์หลวงพิบูลสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้มอบโล่รางวัลสำหรับการแข่งขันประเภทโรงเรียน ซึ่งทีมโรงเรียนเตรียมนายเรือเป็นทีมชนะ
     
          ต่อมาปี 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สมาคมรักบี้ต้องหยุดลงแต่ไม่ถึงกับล้มเลิกโดยเด็ดขาดหลังจากนั้นปี 2486 พระยาจินดารักษ์ อธิบดีกรมพลศึกษา ได้เข้าจัดแข่งขันรักบี้แทนสมาคมโดยจัดแข่งขันชิงโล่ชนะเลิศระหว่างมหาวิทยาลัย ด้วยความรักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ จึงมอบให้ นายโฉลก โกมารกุล ณ นคร เป็นผู้จัดทำโล่ รางวัลชนะเลิศประเภทมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่อีกประเภทหนึ่งเรื่อยมาโดยใช้ชื่อ ว่า "โล่รางวัลประเภทอุดมศึกษา" ต่อมาปี 2494 กิจการของสมาคมในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีนับเป็นเกียรติของสมาคม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสมาคมเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และเปลี่ยน ชื่อมาเป็น "สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์" และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุด

          ทุกนัดที่แข่งขันที่สนามศุภชลาศัยจะมีประชาชนสนใจเข้าชมจนเต็มอัฒจันทร์ล้นหลามลงมายืนในลู่วิ่ง ต่อมาปี 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยรางวัล สำหรับการแข่งขันมีชื่อว่า"ถ้วยวชิราลงกรณ์" เป็นการแข่งขันประเพณีระหว่างประเทศมาเลเซีย กับทีมชาติไทย นอกจากนั้นความพยายาม ของนักรักบี้รุ่นบุกเบิก ได้จัดทีมไทยเดินทางไปแข่งขันถึงประเทศอังกฤษ ทำให้ความนิยม และชื่อเสียงของกีฬาประเภทนี้ ได้แพร่หลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ขยายสู่โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันเหล่าทัพ และสโมสรต่างๆ จนเป็นการแข่งขันระหว่างชาติตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยการกีฬาแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง และอนุญาตให้ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในวันที่ 21 เมษายน 2531


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและกติกาการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
    ในปี ค.ศ. 1920 มีการกล่าวขวัญถึงการเล่นวอลเลย์บอล 6 คน บนชายหาดในฮาวาย (Hawaii) แต่ไม่มีการยืนยันที่แน่นอน ซึ่งในเวลานั้นกีฬาประเภทนี้มีจุดกำเนิดหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจของคนส่วน ใหญ่อยู่ที่ซานตา มอนิก้า (Sawta Monaca) รัฐแคลิฟอร์เนีย (Calafonia) สหรัฐอเมริกา มีลักษณะเหมือนวอลเลย์บอลในร่ม คือเล่นกันฝ่ายละ 6 คน (6 คนต่อ 6) ในปี ค.ศ. 1927 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มเล่นวอลเลย์บอลชายหาด และในปี ค.ศ. 1930 กีฬาประเภทนี้ก็ได้แพร่หลายไปในหลายๆ ประเทศในยุโรปปีเดียวกันนี้เองทางสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเล่นระบบฝ่ายละ 4 คน (4 ต่อ 4) และระบบฝ่ายละ 3 (3 ต่อ 3) การเล่นวอลเลย์บอลชายหาดในครั้งนั้น ยังได้มีการกำหนดกติกาสำหรับการตบ การสกัดกั้นและการรับลูกที่แน่นอน

    ในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการจัดการแข่งขันแบบทีมละ 2 คน ขึ้นอย่างเป็นทางการ (เป็นจุดเริ่มต้นของระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ณ ชายหาดสเตท- (State)รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ในทศวรรษที่ 50 ได้จัดระบบการแข่งขันแบบเซอร์กิต (Circuit) ครั้งแรกในสหรัฐฯ และประเทศบราซิลได้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกขึ้น และในทศวรรษที่ 60 ได้มีการกำหนดกติกาเกี่ยวกับเรื่องการตบ และการสกัดกั้นและยังได้มีการเสนอกติกาเกี่ยวกับการรับลูกบอลในกรณีต่างๆ แต่ยังไม่มีการประกาศใช้ ในปี ค.ศ. 1976 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ได้เกิดขึ้นที่ชายหาดสเตท (State) และแปซิฟิก พาริซาเดส (Pacafic Palisades) ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับมืออาชีพ (มีเงินรางวัล 5,000 เหรียญสหรัฐฯ)
    ในปี ค.ศ. 1982 วอลเลย์บอลชายหาดเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในกีฬาที่เล่นกันบริเวณชายหาด โดยเฉพาะที่โคปาคาบานา (Copacabana) และอิปานิมา (Ipanema) ในเมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ประเทศบราซิล
    ในปี ค.ศ.1986 ได้มีการสาธิตการเล่นในระดับนานาชาติครั้งแรกขึ้นที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ประเทศราซิล มีผู้ชมการแข่งขันประมาณ 5,000 คน ในปี ค.ศ. 1987 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ชิงแชมป์โลกประเภททีมชาติขึ้นที่เมือง อิปานีมา (Ipanema) คาดว่าจะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเข้ามาจัดแข่ง ขัน
    ในปี ค.ศ. 1989 และ ค.ศ. 1990 ได้มีการแข่งขันประเภททีมชายที่ชื่อว่า “Fivb Word Series” (Mens Circuit) ซึ่งมีการจัดขึ้นหลายประเภทได้แก่ บราซิล, อิตาลี, ญี่ปุ่น ในแต่ละประเทศมีเงินรางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐฯ
    ในปี ค.ศ. 1992 วอลเลย์บอลชายหาดจัดว่าเป็นกีฬาอาชีพที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้เป็นอย่างมาก และได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดเข้าเป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิกที่กรุงบาร์เซ โลน่า (Barcelona) ประเทศสเปน และหลังจากนั้น 1 ปี ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกประเภททีมหญิงครั้งแรกขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “Womens Word Championchip-Series”
    ในปี ค.ศ. 1994-1995 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้จัดการแข่งขันประเภท 6 คน ทั้งประเภททีมชายและประเภททีมหญิงในรายการ “Word Championship Series” โดยมีเงินรางวัล 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ในประเภททีมชาย และ 50,000 เหรียญสหรัฐ ในประเภททีมหญิง
ในปี ค.ศ. 1995-1996 กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดเป็นที่รู้จักแพร่หลายและตื่นตัวไปทั่วโลกสหพันธ์ วอลเลย์บอลนานาชาติได้เพิ่มจำนวนรายการขึ้นถึง 29 รายการ (29 Tournament Legs) ใน 5 ทวีป มีผู้เข้าชมมากกว่า 80,000 คน และผู้เข้าชมทางโทรทัศน์ทั่วโลกมากกว่า 50 ล้านคน และผลจากการแข่งขันแต่ละทีมจะมีคะแนนสะสมเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในกีฬา โอลิมปิก
    ในปี ค.ศ. 1996 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้จัดการประชุมแบ่งการแข่งขัน “Word Championship-Series” เป็น 3 ระดับคือ 1. Grand Slam, 2. Word Series, 3.Challenger ทุกประเทศสามารถจัดการแข่งขันและเปิดรับสมัครทั่วไปปีนี้เอง วอลเลย์บอลชายหาดได้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก ที่แอตแลนต้า (Atlandta) สหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1997 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจาก “Word Championship-Series” เป็น “Beach Volleyball Word Tour


กติกาการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด
1. ขนาดสนามกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนามอย่างน้อย 5 เมตรทุกด้าน ที่ว่างเหนือพื้นที่การเล่นลูก 12.50 เมตรต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เส้นสนามมีความกว้าง 5-8 ซม. ต้องเป็นสีเดียวกันและตัดกับสีทรายอย่างชัดเจน
2. พื้นสนามต้องเป็นทรายที่มีความหนาอย่างน้อย 40 ซม. ต้องเป็นเม็ดกลมละเอียด ปราศจากการอัดแน่น และสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน ฯลฯ ต้องไม่หยาบเกินไปหรือละเอียดเกินไปจนกลายเป็นฝุ่น
3. ความสูงตาข่ายประเภททีมชาย 2.43 เมตร หญิง 2.24 เมตร ประเภทอายุไม่เกิน 16 ปี 2.24 เมตร ไม่เกิน 14 ปี 2.12 เมตรไม่เกิน 12 ปี 2.00 เมตร (ทั้งประเภทไม่เกิน 16 ปี, 12 ปี ความสูงของชายและหญิงเท่ากัน)
4. ลูกบอลต้องไม่ดูดซึมน้ำ สีสดใส เช่น สีชมพู ส้ม ลายสลับ ฯลฯ แรงอัด 0.175-0.225 กก./ตร.ซม. จะใช้ลูกบอล 3 ลูกในการแข่งขัน
5. ทีมจะประกอบด้วยผู้เล่น 2 คนเท่านั้น ไม่มีผู้เล่นสำรองหรือ การเปลี่ยนตัว ไม่มีผู้ฝึกสอน
6. ระบบการนับคะแนนมี 2 แบบ คือ
6.1 แบบ ก แข่งขันแบบเซตเดียว ชนะกันที่ 15 คะแนน ถ้ามีการดิวซ์จะไม่เกิน 17 คะแนน และเมื่อคะแนนรวมกันทั้ง 2 ทีม ได้ 5, 10, 15 จะมีการเปลี่ยนแดนและหยุดพัก 30 วินาที
6.2 แบบ ข แข่งขันแบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และ 2 ผู้ที่ทำได้ 12 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะ (ไม่มีการดิวซ์) ในเชตที่ 3 เป็นการแข่งขันแบบทีมที่ชนะในการเล่นลูกจะได้คะแนนทุกครั้ง (TIE-BREAK) ทีมที่ทำได้ 12 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนนำฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน (เช่น 13:11, 15:13) และเมื่อคะแนนรวมกันทั้ง 2 ทีมได้ 4, 8, 12, 16 ฯลฯ จะเปลี่ยนแดนและหยุดพัก 30 วินาที ยกเว้นเซตที่ 3 หลังจากเปลี่ยนแดนแล้วจะแข่งขันต่อทันทีไม่มีการหยุดพัก
7. อยู่ในระหว่างแนวของเส้นข้างทั้งสอง ผู้เสิร์ฟสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในเขตเสิร์ฟ การเสิร์ฟต้องเป็นไปตามลำดับการเสิร์ฟตลอดเซตเพื่อนร่วมทีมของผู้เสิร์ฟต้อง ไม่กำบังทีมตรงข้ามไม่ให้เห็นผู้เสิร์ฟ ต้องเสิร์ฟภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินอนุญาตไม่มีความพยายามในการเสิร์ฟ
8. ถ้าผู้เล่นทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมกันเหนือตาข่าย และไม่เป็นการพักลูกถือว่าไม่ผิดกติกา ถ้าสามารถเล่นต่อไปทีมที่รับลูกสามารถถูกลูกบอลได้อีก3 ครั้ง (กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการสกัดกั้น) แต่ถ้าลูกบอลออกนอกสนามถือว่าทีมที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามทำลูกออก
9. ลูกบอบอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ แต่ต้องไม่มีลักษณะของการจับลูกหรือโยนลูกบอล การเล่นลูกโดยใช้นิ้วเล่นมือบน (การเซต) ต้องเป็นการถูกลูกบอลในลักษณะการถูกลูกครั้งเดียว ยกเว้นการรับลูกตบด้วยความรุนแรง สามารถเล่นลูกบอล 2 จังหวะ หรือพักลูกได้เล็กน้อย
10. ผู้เล่นอาจล้ำเข้าไปในแดนหรือเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้และห้ามทุกส่วนของร่างกาย (ยกเว้นผม) รวมทั้งชุดแข่งขันถูกตาข่าย
11. การถูกบอลขณะทำการสกัดกั้น นับเป็นการถูกบอลของทีม 1 ครั้ง ทีมที่สกัดกั้นจะเล่นได้อีก 2 ครั้ง หลังจากการสกัดกั้น แต่กรณีนี้อนุญาตให้ผู้เล่นสกัดกั้นเล่นบอลครั้งที่ 2 ได้
12. การกระทำต่อไปนี้คือการรุกที่ผิดกติกา
12.1 ผู้เล่นทำการรุกอย่างสมบูรณ์ โดยการแบมือและใช้ปลายนิ้วกดหรือพาลูกบอล
12.2 การเซตข้ามตาข่ายต้องอยู่ในแนวหัวไหล่ของคนเซต ไม่ว่าจะด้านหน้าหรือด้านหลัง
13. การพักระหว่างเซต (ระบบ 2 ใน 3 เซต ) พัก 5 นาที
14. ทีมจะมีเวลานอกได้เซตละไม่เกิน 4 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที