วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปันจักสีลัต (Pencak Silat)







ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมาย ถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า สิละ” “ดีกาหรือ บือดีกาเป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤตท่ารำกำเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระแสน้ำวน
          Mubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำนานสิละไว้ว่า การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ 400 ปี มาแล้วโดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำนานว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสายสุมาตรา ชื่อ บูฮันนุดดิน ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสุมาตรา สำนักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ น้ำในสระไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดกลมกลืนกับสีนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นน้ำเนืองนิตย์ วันหนึ่ง ฮามินนุดดินไปตักน้ำที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงน้ำตกทำให้น้ำในสระเป็นระลอกคลื่นหมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมอร์ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกน้ำพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อนกลับไปใกล้ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิต จิตใจ ฮามินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุน้ำ แล้วจ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้าดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาได้นำลีลาการลอยของดอกบอมอร์มาประยุกต์สอนการร่ายรำให้แก่เพื่อนทั้งสอง และช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละจึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้
ริ่มต้นด้วยการสาลามัต
     
          ก่อนนักสิละลงมือต่อสู้ ทั้งคู่จะทำความเคารพกันและกัน เรียกว่า สาลามัตคือ ต่างสัมผัสมือแล้วแตะที่หน้าผาก หลังจากนั้นจึงเริ่มวาดลวดลายร่ายรำตามศิลปะสิละ บางครั้งนักสู้ต่างกระทืบเท้าให้เกิดเสียงหรือมิฉะนั้นเอาฝ่ามือตีที่ต้นขา ของตนเอง เพื่อให้เกิดเสียงข่มขวัญปรปักษ์ เมื่อรำไปรำมา หรือก้าวไปถอยมา ประหนึ่งว่าเป็นการลองเชิงพอสมควรแล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ คือหาจังหวะให้มือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงกันข้าม จังหวะการประชิดตัวนั้นดูเหมือนว่าจะห้ำหั่นกันชั่วฟ้าแลบ ขณะนั้นดนตรีก็โหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ ฝ่ายใดทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงหรืออาศัยการตัดสินจากผู้ดูรอบสนามว่าเป็นเสียง ปรบมือให้ฝ่ายใดดัง ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ
สิละของมุสลิมภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

          • สิละยาโต๊ะ คือ สิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุกอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เลยเรียกว่า สิละยาโต๊ะ (ตก) ส่วนมากใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
          • สิละตารี (รำ) คือ สิละที่ต่อกรด้วยความชำนาญในจังหวะลีลาการร่ายรำ ส่วนมากแสดงเฉพาะ หน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง
          • สิละกายอ (กริช) คือ สิละใช้กริชประกอบการร่ายรำไม่ใช้การต่อสู้จริง ๆ แต่อวดลีลากระบวนท่าทางต่อสู้ ส่วนมากแสดงในเวลากลางคืน
กีฬาปันจักสีลัตในปัจจุบัน
     
          กีฬาปันจักสีลัตได้เปลี่ยนโครงสร้าง โดยจัดประเภทของการแข่งขันซึ่งเดิมจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภท ในการแข่งขันชิงแชมป์นานาชาติ และการแข่งขันชิงแชมป์โลก คือ ประเภทการต่อสู้จริง และการแสดงศิลปะการต่อสู้ (เป็นการแสดง) แต่การแข่งขันปันจักสีลัตในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13-18 มีการแข่งขันเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทการต่อสู้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยแยกการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก ปี 1997 ณ ประเทศมาเลเซีย และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น