วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติฟุตบอล

ทีมชาติอังกฤษ ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ใน ฟุตบอลโลก 1966 นับจากการแข่งทั้งหมด ทีมชาติอังกฤษ เข้าฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งหมด 12 ครั้ง (ฟุตบอลโลก 2006 เป็นครั้งที่ 12) ซึ่งอังกฤษเริ่มเล่นครั้งแรกใน ฟุตบอลโลก 1950 ซึ่งในครั้งแรกนั้นแม้จะผ่านรอบคัดเลือกแต่ตกรอบแรกไป ซึ่งหลังจากนั้นทีมอังกฤษผ่านรอบคัดเลือกมาตลอดทุกปีต่อเนื่องกัน จนกระทั่งชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1966 แต่หลังจากนั้นใน ฟุตบอลโลก 1974, 1988 และ 1994 ทีมชาติอังกฤษไม่ผ่านรอบคัดเลือก โดยใน ฟุตบอลโลก 2006 ทีมชาติอังกฤษเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศและแพ้ ทีมชาติโปรตุเกสไปจากการดวลจุดโทษ และล่าสุด ฟุตบอลโลก 2010 ทีมชาติอังกฤษก็ต้องตกรอบตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ ทีมชาติเยอรมันไป 1-4 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬา รักบี้ฟุตบอล

รักบี้ ฟุตบอล

          มีต้นกำเนิดที่ไม่แน่ชัด แต่ที่จุดเริ่มต้นให้มีการเล่นตามรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มาจาก โรงเรียนรักบี้ จากโรงเรียนนี้เกมได้แพร่หลายและมาไกลจนถึงเมืองไทย
          สำหรับรักบี้ในเมืองไทยนั้น เริ่มต้นด้วยชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวอังกฤษที่เข้ามาทำการค้าหรือเข้ามาเป็นครู ในโรงเรียนของรัฐ ได้นำรักบี้เข้ามาเล่น โดยใช้สถานที่เล่นคือทุ่งพระสุเมรุ (ท้องสนามหลวงปัจจุบัน) ต่อมาปี 2444 พระพุทธเจ้าหลวงได้ให้ใช้ที่ดินว่างเปล่าที่ทุ่งสระปทุมวันเป็นที่เล่นกีฬา ของชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า "ราชกรีฑาสโมสร" เกิดเป็นสโมสรกีฬาหลายชนิดมาถึงปี 2452 มีการเล่นรักบี้อย่างจริงจัง ทุกวันเสาร์โดยขั้นแรกเป็นการเล่นกันเองระหว่างต่างชาติล้วนๆหลังจากนั้นคน ไทยที่ไปศึกษายังประเทศอังกฤษและเล่นรักบี้ที่นั่นเมื่อกลับมาเมืองไทยได้ เข้าร่วมเล่นเรื่อยมา ครั้นต่อมาเมื่อมีจำนวนคนไทยและที่ไม่ใช่คนอังกฤษเล่นมากขึ้น ได้รวมตัวกันตั้งเป็นทีมแข่งขัน กันเอง 3 ทีม คืออังกฤษ สก๊อตแลนด์ และทีมรวมจากหลาย ๆ ชาติรวมทั้งคนไทย ชิงถ้วย HAMSAIRS

          ต่อมาช่วงปี 2472 พระสุทัศน์ พงศ์พิสุทธิ์ (ม.ล.กิ่งสุทัศน์) นักเรียนเก่าอังกฤษซึ่งโปรดปรานเกมรักบี้มากที่สุด มารับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลขก็รวบรวมข้าราชการหัดให้เล่นรักบี้ อาทิเช่น อาจารย์เจือ จักษุรักษ์ นายไชย เตชะเสน นายสกนธ์ ศาสตราภัย ฝึกหัดเล่นและได้ไปฝึกซ้อมที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โดยเกณฑ์เด็กนักเรียนรุ่นโตเข้าร่วมฝึกหัดเล่นด้วยกัน
     
          ปี 2481 เสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือจัดตั้งองค์กรขึ้นบริหารงานรักบี้คือตั้งเป็น "ยูเนี่ยน" โดยใช้ชื่อว่า SIAM RUGBY FOOTBALL UNION มีที่ทำการอยู่ที่ราชกรีฑาสโมสร ถนนสนาม ปทุมวัน พระนคร โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นองค์นายก และเมื่อเดือนตุลาคม 2482 ได้จัดให้มีการแข่งขันชิงถ้วยระหว่างสมาชิกเป็นครั้งแรกเป็นการแข่งขันชิง ชนะเลิศ "ถ้วยบริติชเคาน์ซิล" (BRITISH COUNCIL CUP) ท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยจัดหาถ้วยมามอบให้และได้ใช้เป็นถ้วย แข่งขันมาจนทุกวันนี้ทำให้กิจการของสมาคมรุดหน้ามีทีมสมัครเข้าเป็นสมาชิก และส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันหลายสถาบันรวมทั้งการแข่งขันประเภทนักเรียนพระรา ชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์หลวงพิบูลสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้มอบโล่รางวัลสำหรับการแข่งขันประเภทโรงเรียน ซึ่งทีมโรงเรียนเตรียมนายเรือเป็นทีมชนะ
     
          ต่อมาปี 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สมาคมรักบี้ต้องหยุดลงแต่ไม่ถึงกับล้มเลิกโดยเด็ดขาดหลังจากนั้นปี 2486 พระยาจินดารักษ์ อธิบดีกรมพลศึกษา ได้เข้าจัดแข่งขันรักบี้แทนสมาคมโดยจัดแข่งขันชิงโล่ชนะเลิศระหว่างมหาวิทยาลัย ด้วยความรักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ จึงมอบให้ นายโฉลก โกมารกุล ณ นคร เป็นผู้จัดทำโล่ รางวัลชนะเลิศประเภทมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่อีกประเภทหนึ่งเรื่อยมาโดยใช้ชื่อ ว่า "โล่รางวัลประเภทอุดมศึกษา" ต่อมาปี 2494 กิจการของสมาคมในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีนับเป็นเกียรติของสมาคม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสมาคมเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และเปลี่ยน ชื่อมาเป็น "สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์" และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุด

          ทุกนัดที่แข่งขันที่สนามศุภชลาศัยจะมีประชาชนสนใจเข้าชมจนเต็มอัฒจันทร์ล้นหลามลงมายืนในลู่วิ่ง ต่อมาปี 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยรางวัล สำหรับการแข่งขันมีชื่อว่า"ถ้วยวชิราลงกรณ์" เป็นการแข่งขันประเพณีระหว่างประเทศมาเลเซีย กับทีมชาติไทย นอกจากนั้นความพยายาม ของนักรักบี้รุ่นบุกเบิก ได้จัดทีมไทยเดินทางไปแข่งขันถึงประเทศอังกฤษ ทำให้ความนิยม และชื่อเสียงของกีฬาประเภทนี้ ได้แพร่หลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ขยายสู่โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันเหล่าทัพ และสโมสรต่างๆ จนเป็นการแข่งขันระหว่างชาติตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยการกีฬาแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมการกีฬาโดยตรง และอนุญาตให้ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาในนามของชาติหรือประเทศไทย ในวันที่ 21 เมษายน 2531


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและกติกาการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
    ในปี ค.ศ. 1920 มีการกล่าวขวัญถึงการเล่นวอลเลย์บอล 6 คน บนชายหาดในฮาวาย (Hawaii) แต่ไม่มีการยืนยันที่แน่นอน ซึ่งในเวลานั้นกีฬาประเภทนี้มีจุดกำเนิดหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจของคนส่วน ใหญ่อยู่ที่ซานตา มอนิก้า (Sawta Monaca) รัฐแคลิฟอร์เนีย (Calafonia) สหรัฐอเมริกา มีลักษณะเหมือนวอลเลย์บอลในร่ม คือเล่นกันฝ่ายละ 6 คน (6 คนต่อ 6) ในปี ค.ศ. 1927 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มเล่นวอลเลย์บอลชายหาด และในปี ค.ศ. 1930 กีฬาประเภทนี้ก็ได้แพร่หลายไปในหลายๆ ประเทศในยุโรปปีเดียวกันนี้เองทางสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเล่นระบบฝ่ายละ 4 คน (4 ต่อ 4) และระบบฝ่ายละ 3 (3 ต่อ 3) การเล่นวอลเลย์บอลชายหาดในครั้งนั้น ยังได้มีการกำหนดกติกาสำหรับการตบ การสกัดกั้นและการรับลูกที่แน่นอน

    ในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการจัดการแข่งขันแบบทีมละ 2 คน ขึ้นอย่างเป็นทางการ (เป็นจุดเริ่มต้นของระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ณ ชายหาดสเตท- (State)รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ในทศวรรษที่ 50 ได้จัดระบบการแข่งขันแบบเซอร์กิต (Circuit) ครั้งแรกในสหรัฐฯ และประเทศบราซิลได้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกขึ้น และในทศวรรษที่ 60 ได้มีการกำหนดกติกาเกี่ยวกับเรื่องการตบ และการสกัดกั้นและยังได้มีการเสนอกติกาเกี่ยวกับการรับลูกบอลในกรณีต่างๆ แต่ยังไม่มีการประกาศใช้ ในปี ค.ศ. 1976 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ได้เกิดขึ้นที่ชายหาดสเตท (State) และแปซิฟิก พาริซาเดส (Pacafic Palisades) ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับมืออาชีพ (มีเงินรางวัล 5,000 เหรียญสหรัฐฯ)
    ในปี ค.ศ. 1982 วอลเลย์บอลชายหาดเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในกีฬาที่เล่นกันบริเวณชายหาด โดยเฉพาะที่โคปาคาบานา (Copacabana) และอิปานิมา (Ipanema) ในเมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ประเทศบราซิล
    ในปี ค.ศ.1986 ได้มีการสาธิตการเล่นในระดับนานาชาติครั้งแรกขึ้นที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ประเทศราซิล มีผู้ชมการแข่งขันประมาณ 5,000 คน ในปี ค.ศ. 1987 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ชิงแชมป์โลกประเภททีมชาติขึ้นที่เมือง อิปานีมา (Ipanema) คาดว่าจะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเข้ามาจัดแข่ง ขัน
    ในปี ค.ศ. 1989 และ ค.ศ. 1990 ได้มีการแข่งขันประเภททีมชายที่ชื่อว่า “Fivb Word Series” (Mens Circuit) ซึ่งมีการจัดขึ้นหลายประเภทได้แก่ บราซิล, อิตาลี, ญี่ปุ่น ในแต่ละประเทศมีเงินรางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐฯ
    ในปี ค.ศ. 1992 วอลเลย์บอลชายหาดจัดว่าเป็นกีฬาอาชีพที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้เป็นอย่างมาก และได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดเข้าเป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิกที่กรุงบาร์เซ โลน่า (Barcelona) ประเทศสเปน และหลังจากนั้น 1 ปี ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกประเภททีมหญิงครั้งแรกขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “Womens Word Championchip-Series”
    ในปี ค.ศ. 1994-1995 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้จัดการแข่งขันประเภท 6 คน ทั้งประเภททีมชายและประเภททีมหญิงในรายการ “Word Championship Series” โดยมีเงินรางวัล 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ในประเภททีมชาย และ 50,000 เหรียญสหรัฐ ในประเภททีมหญิง
ในปี ค.ศ. 1995-1996 กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดเป็นที่รู้จักแพร่หลายและตื่นตัวไปทั่วโลกสหพันธ์ วอลเลย์บอลนานาชาติได้เพิ่มจำนวนรายการขึ้นถึง 29 รายการ (29 Tournament Legs) ใน 5 ทวีป มีผู้เข้าชมมากกว่า 80,000 คน และผู้เข้าชมทางโทรทัศน์ทั่วโลกมากกว่า 50 ล้านคน และผลจากการแข่งขันแต่ละทีมจะมีคะแนนสะสมเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในกีฬา โอลิมปิก
    ในปี ค.ศ. 1996 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ได้จัดการประชุมแบ่งการแข่งขัน “Word Championship-Series” เป็น 3 ระดับคือ 1. Grand Slam, 2. Word Series, 3.Challenger ทุกประเทศสามารถจัดการแข่งขันและเปิดรับสมัครทั่วไปปีนี้เอง วอลเลย์บอลชายหาดได้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก ที่แอตแลนต้า (Atlandta) สหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1997 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจาก “Word Championship-Series” เป็น “Beach Volleyball Word Tour


กติกาการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด
1. ขนาดสนามกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนามอย่างน้อย 5 เมตรทุกด้าน ที่ว่างเหนือพื้นที่การเล่นลูก 12.50 เมตรต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เส้นสนามมีความกว้าง 5-8 ซม. ต้องเป็นสีเดียวกันและตัดกับสีทรายอย่างชัดเจน
2. พื้นสนามต้องเป็นทรายที่มีความหนาอย่างน้อย 40 ซม. ต้องเป็นเม็ดกลมละเอียด ปราศจากการอัดแน่น และสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน ฯลฯ ต้องไม่หยาบเกินไปหรือละเอียดเกินไปจนกลายเป็นฝุ่น
3. ความสูงตาข่ายประเภททีมชาย 2.43 เมตร หญิง 2.24 เมตร ประเภทอายุไม่เกิน 16 ปี 2.24 เมตร ไม่เกิน 14 ปี 2.12 เมตรไม่เกิน 12 ปี 2.00 เมตร (ทั้งประเภทไม่เกิน 16 ปี, 12 ปี ความสูงของชายและหญิงเท่ากัน)
4. ลูกบอลต้องไม่ดูดซึมน้ำ สีสดใส เช่น สีชมพู ส้ม ลายสลับ ฯลฯ แรงอัด 0.175-0.225 กก./ตร.ซม. จะใช้ลูกบอล 3 ลูกในการแข่งขัน
5. ทีมจะประกอบด้วยผู้เล่น 2 คนเท่านั้น ไม่มีผู้เล่นสำรองหรือ การเปลี่ยนตัว ไม่มีผู้ฝึกสอน
6. ระบบการนับคะแนนมี 2 แบบ คือ
6.1 แบบ ก แข่งขันแบบเซตเดียว ชนะกันที่ 15 คะแนน ถ้ามีการดิวซ์จะไม่เกิน 17 คะแนน และเมื่อคะแนนรวมกันทั้ง 2 ทีม ได้ 5, 10, 15 จะมีการเปลี่ยนแดนและหยุดพัก 30 วินาที
6.2 แบบ ข แข่งขันแบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และ 2 ผู้ที่ทำได้ 12 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะ (ไม่มีการดิวซ์) ในเชตที่ 3 เป็นการแข่งขันแบบทีมที่ชนะในการเล่นลูกจะได้คะแนนทุกครั้ง (TIE-BREAK) ทีมที่ทำได้ 12 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนนำฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน (เช่น 13:11, 15:13) และเมื่อคะแนนรวมกันทั้ง 2 ทีมได้ 4, 8, 12, 16 ฯลฯ จะเปลี่ยนแดนและหยุดพัก 30 วินาที ยกเว้นเซตที่ 3 หลังจากเปลี่ยนแดนแล้วจะแข่งขันต่อทันทีไม่มีการหยุดพัก
7. อยู่ในระหว่างแนวของเส้นข้างทั้งสอง ผู้เสิร์ฟสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในเขตเสิร์ฟ การเสิร์ฟต้องเป็นไปตามลำดับการเสิร์ฟตลอดเซตเพื่อนร่วมทีมของผู้เสิร์ฟต้อง ไม่กำบังทีมตรงข้ามไม่ให้เห็นผู้เสิร์ฟ ต้องเสิร์ฟภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินอนุญาตไม่มีความพยายามในการเสิร์ฟ
8. ถ้าผู้เล่นทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมกันเหนือตาข่าย และไม่เป็นการพักลูกถือว่าไม่ผิดกติกา ถ้าสามารถเล่นต่อไปทีมที่รับลูกสามารถถูกลูกบอลได้อีก3 ครั้ง (กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการสกัดกั้น) แต่ถ้าลูกบอลออกนอกสนามถือว่าทีมที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามทำลูกออก
9. ลูกบอบอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ แต่ต้องไม่มีลักษณะของการจับลูกหรือโยนลูกบอล การเล่นลูกโดยใช้นิ้วเล่นมือบน (การเซต) ต้องเป็นการถูกลูกบอลในลักษณะการถูกลูกครั้งเดียว ยกเว้นการรับลูกตบด้วยความรุนแรง สามารถเล่นลูกบอล 2 จังหวะ หรือพักลูกได้เล็กน้อย
10. ผู้เล่นอาจล้ำเข้าไปในแดนหรือเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้และห้ามทุกส่วนของร่างกาย (ยกเว้นผม) รวมทั้งชุดแข่งขันถูกตาข่าย
11. การถูกบอลขณะทำการสกัดกั้น นับเป็นการถูกบอลของทีม 1 ครั้ง ทีมที่สกัดกั้นจะเล่นได้อีก 2 ครั้ง หลังจากการสกัดกั้น แต่กรณีนี้อนุญาตให้ผู้เล่นสกัดกั้นเล่นบอลครั้งที่ 2 ได้
12. การกระทำต่อไปนี้คือการรุกที่ผิดกติกา
12.1 ผู้เล่นทำการรุกอย่างสมบูรณ์ โดยการแบมือและใช้ปลายนิ้วกดหรือพาลูกบอล
12.2 การเซตข้ามตาข่ายต้องอยู่ในแนวหัวไหล่ของคนเซต ไม่ว่าจะด้านหน้าหรือด้านหลัง
13. การพักระหว่างเซต (ระบบ 2 ใน 3 เซต ) พัก 5 นาที
14. ทีมจะมีเวลานอกได้เซตละไม่เกิน 4 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การวัดความดันโลหิต(Measuring blood pressure)


การวัดความดันโลหิตถือเป็นเรื่องง่ายใกล้ตัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รวมทั้งพยาบาลทั้งในโรงพยาบาล และคลินิก
แต่ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล จากการสุ่มตรวจการวัดความดันโลหิตของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทั้งการสังเกต
และให้ลองทำให้ดู ในประสบการณ์ของแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่(เกือบทั้งหมด)มีเทคนิคการวัดที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกต้องบางส่วนแต่
ไม่สมบูรณ์ ….อะไรคือความผิดพลาดที่พบบ่อยในการวัดความดันโลหิต….ที่นี่มีคำตอบ
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง มีความสำคัญอย่างยิ่งในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งองค์
ประกอบที่สำคัญ ต้องอาศัยทั้งเครื่องมือวัดความดันโลหิตที่ calibrate ได้มาตรฐาน, ขนาดcuff ที่เหมาะสม่ในแต่ละราย, การจัด
ท่าผู้ป่วย รวมทั้งเทคนิคการวัดที่ถูกต้อง
เวลาในการวัดความดันโลหิต และปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
ในรายที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวัดความดันโลหิตก่อนทานยา เพื่อดูผลของยาในช่วงที่ระดับยาต่ำที่สุด (trough
effect) และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต ในระยะเวลา 60 นาทีก่อนวัดความดัน(3) ได้แก่ การรับประทานอาหาร,
การออกกำลังกาย(อาจทำให้ความดันลดลงได้), การสูบบุหรี่(ทำให้ความดันเพิ่มได้ชั่วคราว), การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีสาร
คาเฟอีน(ทำให้ความดันเพิ่มได้) และงดยาที่กระตุ้นหัวใจเช่นยาแก้คัดจมูก.ยาหยอดตาขยายม่านตา และปัสสาวะให้เรียบร้อย
ก่อน
นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยง การพูดคุยขณะวัดความดันเพราะสามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ถึง 8-15 มม.ปรอท
และควรวัดความดันในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
ชนิดของเครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิต
เครื่องมือวัดความดันที่เป็นที่ยอมรับกันว่า มีความแม่นยำที่สุด ได้แก่ เครื่องวัดแบบปรอท (mercury
sphygmomanometer) ส่วนเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ(automatic oscillometric BP measuring device) จะวัด
ความดันโลหิตได้ต่ำกว่าการวัดโดยใช้หูฟัง (auscultatory method)
ขนาด cuff
การใช้ cuff ที่เล็กเกินไป จะทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่าความเป็นจริง เช่น ในกรณีคนอ้วน อาจจะวัดความดัน
systolic ได้มากเกินจริงถึง 10-50 มม.ปรอท (4)
มาตรฐานของขนาดกระเปาะลมใน cuff ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 80% และความกว้างไม่น้อยกว่า 40% (บางแห่งใช้
46%) ของเส้นรอบวงของต้นแขน(กรณีวัดความดันที่แขน) โด_______ยการแบ่งขนาดของ cuff ใช้อ้างอิง arm circumference เป็นหลัก
-arm circumference 22-26 cm ใช้ “small adult cuff” ขนาด 12X22cm
-arm circumference 27-34 cm ใช้ “ adult cuff” ขนาด 16X30cm
-arm circumference 35-44 cm ใช้ “large adult cuff” ขนาด 16X36cm
ระดับความยาก ♦♦
บทความนี้เหมาะสำหรับ แพทย์,
พยาบาล, ผู้สนใจที่มีความรู้ทางการแพทย์
-arm circumference 45-52 cm ใช้ “adult thigh cuff” ขนาด 16X42cm
Pseudohypertension
เป็นภาวะที่วัดความดันโลหิตได้สูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากเส้นเลือดมีการแข็งตัว (stiffness) เนื่องจากมีแคลเซียม
เกาะที่เส้นเลือดจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้ cuff pressure มากกว่าแรงดันโลหิต โดยมีค่าความดันโลหิตทั้ง systolic และ diastolic
จากการวัดด้วย sphygmomanometer สูงกว่าการวัดแรงดันโดยตรงจาก artery 10 มม.ปรอทหรือมากกว่า
การจัดท่าผู้ป่วย
โดยปกติมักใช้ท่านั่งในการวัดความดันโลหิต ส่วนการวัดความดันโลหิตในท่านอนจะมีความดันโลหิตที่แตกต่างจากท่า
นั่งเล็กน้อย คือ ความดัน systolic สูงขึ้น 2-3 มม.ปรอท และความดัน diastolic ลดลง 2-3 มม.ปรอท (6)
ในผู้สูงอายุ ควรวัดความดันโลหิตทั้งท่านอนและท่ายืน เพื่อดูภาวะ postural hypotension ซึ่งวินิจฉัยภายในเวลา 2-5
นาทีของท่ายืน โดยมีความดันsystolic ลดลงอย่างน้อย 20 มม.ปรอท หรือมีความดัน diastolic ลดลงอย่างน้อย 10 มม.ปรอท
หรือมีอาการของสมองขาดเลือดมาเลี้ยงเช่น วูบจะเป็นลม
ในการวัดความดันโลหิต ควรให้แขนที่วัดอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ ส่วนตัวเครื่องวัดอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด แต่ไม่จำ
เป็นต้องอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ (2) ทั้งนี้ถ้าระดับแขนอยู่ต่ำกว่าหัวใจก็จะมีความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นจาก hydrostatic pressure อัน
เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นถึง 10-12 มม.ปรอท (5)
นอกจากนี้ ผู้ถูกวัดควรนั่งนิ่งๆ ประมาณ 5 นาทีก่อนวัด (4) แต่อย่างไรก็ตามก็อาจเกิดภาวะ white coat hypertension
ซึ่งเป็นภาวะความดันโลหิตที่สูง ขึ้นจากความตื่นเต้น เฉพาะเมื่อพบแพทย์ พยาบาล โดยไม่ได้มีความดันสูงจริง พบภาวะนี้ได้ 20-
30% (7) ซึ่งสามารถตรวจยืนยันได้โดยการติดเครื่องวัดความดันโลหิต 24 ชม. (24 hour ambulatory BP monitoring)
การวาง cuff ในท่านั่ง
ควรวางตรงกลางกระเปาะของ cuff อยู่บนตำแหน่ง brachial artery pulsation ถ้าผู้ป่วยใส่เสื้อแขนยาวที่หนา ควรถอด
ออก เพราะการพับแขนเสื้อขึ้น อาจรัดต้นแขนส่วนบนได้เหมือนการทำ tourniquet test และปลายขอบล่างของ cuff ควรอยู่สูง
กว่าข้อพับแขน 2-3 ซม.
เทคนิคการวัดความดัน
ควรวัดความดันครั้งแรก โดยใช้การคลำ เพื่อประเมินค่าความดัน systolic คร่าวๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิด
auscultatory gap ขณะวัดความดันโดยใช้หูฟัง(5) (การวัดความดันโดยการคลำจะวัดได้เฉพาะความดัน systolic เท่านั้น)
หลังจากนั้นวัดความดันโดยใช้หูฟัง โดยบีบ cuff ให้สูงกว่าความดัน systolic ที่ได้จากการคลำ ประมาณ 30มม.ปรอท
แล้วค่อยๆปล่อยแรงดันลงช้าๆในอัตรา 2-3มม.ปรอทต่อ heart beat(ถือหลักขึ้นเร็ว ลงช้า”)
การเกิด auscultatory gap คือการที่เสียง korotkoff หายไปบางช่วงในขณะวัดความดันโดยใช้หูฟัง ซึ่งทำให้ค่าความดัน
ที่วัดได้ผิดพลาด ถ้าไม่ใช้เทคนิคที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น เช่น ผู้ป่วยมีความดันโลหิต systolic 190มม.ปรอท ได้ยินเสียงแรก
(korotkoff phase I) ที่ 190มม.ปรอท เสียงหายไปในช่วง 160มม.ปรอท และกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้งในช่วง 140มม.ปรอท ดัง
นั้นถ้าบีบcuff ขึ้นแรงดันเพียง 150มม.ปรอท ก็จะไม่ได้ยินเสียงจนถึง 140มม.ปรอท ทำให้คิดว่าเสียงที่ตำแหน่ง 140มม.ปรอทเป็น
korotkoff phase I หรือความดันโลหิต systolic ซึ่งผิดพลาดอย่างมาก
นอกจากนี้การวางหูฟัง(stethoscope) ก็มีความสำคัญ ขณะวัดความดันไม่ควรกดหูฟังแน่นเกินไป เพราะจะทำให้เกิด
turbulence flow ทำให้เสียงหายไปช้ากว่าที่ควรเป็น ทำให้ค่าความดัน diastolic ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้ถึง 10-15มม.ปรอท(5)
เสียงที่ได้ยินขณะวัดความดันโลหิต(Korotkoff sound)
- Korotkoff sounds คือเสียงที่เกิดจากการไหลของเลือดขณะกำลังวัดความดันโลหิต มีทั้งหมด 5 phases คือ
phase I เสียงตุบแรก=SBP
phase II เสียงฟู่
phase III เสียงฟู่ที่ดังขึ้น
phase IV เสียงแผ่วลง(muffled)
phaseVเสียงหาย=DBP ยกเว้นกรณีaortic regurgitation จะใช้phaseIVเป็นDBPเพราะใกล้เคียงค่าdiastolic intraarterial
pressure(2,8)
(ปกติphaseVจะห่างจากphaseIVไม่เกิน10มม.ปรอท ถ้าเกินกว่านี้ให้บันทึกผลทั้งค่าphaseIV&V เช่น BP 142/54/10มม.ปรอท ซึ่ง
พบได้ในเด็ก.ภาวะhigh outputเช่น aortic regurgitation,เลือดจาง.โรคไทรอยด์เป็นพิษ)
ในการวัดความดันครั้งแรก ควรวัดความดันทั้ง 2 แขน แรก เพราะอาจไม่เท่ากันได้….ถ้าต่างกันมากกว่า10มม.ปรอท
แสดงว่ามีการตีบของเส้นเลือดแดงที่มีความดันต่ำกว่า และให้ใช้ค่าความดันโลหิตข้างที่สูงเป็นหลัก
ในแต่ละครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจควรวัดความดันโลหิต2ครั้ง ห่างกัน1-2นาที ถ้าต่างกันมากกว่า5มม.ปรอท ให้วัดใหม่จนได้
ค่าความดัน2 ครั้งติดกันต่างกันไม่เกิน5มม.ปรอท
การวัดความดันโลหิตที่ขา
สามารถวัดได้ โดยต้องใช้ขนาด cuff ที่เหมาะสม ในคนปกติการวัดความดันโลหิตที่ขา มักสูงกว่าที่แขนประมาณ 10-
20%
การวัดความดันที่ข้อมือ
ใช้ได้ดีโดยเฉพาะในคนอ้วน หรือในรายที่ต้องการวัดความดันขณะออกกำลังกาย ค่าความดันที่ได้จะสูงกว่าความเป็น
จริง เนื่องจากข้อมืออยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ ดังนั้นถ้าจะให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ต้องให้ข้อมืออยู่ระดับเดียวกับหัวใจ__
http://www.thaiheartclinic.com/PDF/BPmeasurement2.pdf

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มวยไทย (Thai boxing )



มวยไทย (Thai boxing )



 มนุษย์ รู้จักคำว่า "ต่อสู้" ตั้งแต่มนุษย์เริ่มเกิดลืมตามาดูโลก ต้องต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัวเองและแม้แต่กับตัวเองก็มิได้ละเว้นจะต้องสู้ ต้องต่อสู้กับธรรมชาติและภัยของธรรมชาติสิงสาราสัตว์ที่มุ่งร้ายหมายชีวิต หรือที่มนุษย์จะมุ่งเอาชีวิตเพื่อนำมาเป็นอาหารสำหรับยังชีวิตบางครั้ง มนุษย์ก็ต่อสู้กันเอง เพื่อสิทธิในการครอบครองเป็นเจ้าของ เพื่อเสรีภาพ เพื่อป้องกันตนเองหรืออื่นๆ การต่อสู้ดังกล่าวอาจจะต้องใช้กำลังกายกำลังใจและกำลังความคิดเข้ามาเกี่ยว ข้องด้วย
   มนุษย์ จะต่อสู้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็แล้วแต่จุดมุ่ง หมายสูงสุดของการต่อสู้ ความอยู่รอดของชีวิตจากการต่อสู้มนุษย์ก็ได้พยายามคิดค้นวิธีการต่อสู้ เพื่อป้องกันให้ถึงแก่ชีวิตได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือเมื่อทั้งสองฝ่ายมีอาวุธคู่มือการทำร้ายกันก็ทำได้ลำบากต่างก็ต้องเกรง ซึ่งกันและกันมนุษย์ก็พยายามใช้ความคิดที่จะหาหนทางเอาชนะ เอาชีวิตของคู่ต่อสู้ให้ง่ายและรวดเร็ว ป้องกันชีวิตตนเองให้ปลอดภัยมากขึ้นพยายามคิดค้นศึกษา ทดลอง ดัดแปลงแก้ไข เพื่อหาแนวทางที่จะต่อสู้และป้องกันตัวทั้งที่มีอาวุธและไม่มีอาวุธ ทำให้เกิดศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวขึ้นมา
มนุษย์ ในแต่ละซีกโลกหนึ่ง หรือแต่ละภาคของโลก ต่างก็มีวิธีการต่อสู้และป้องกันตัวเป็นของตนเอง และแตกต่างกับการต่อสู้ของมนุษย์ในอีกซีกโลกหนึ่ง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวแตกต่างกัน เช่น มนุษย์ในแถบขั้วโลกมีหิมะน้ำแข็งจับอยู่ตลอดปีหรือมีอากาศหนาวจัด การแต่งกายจะต้องแต่งด้วยเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อป้องกันความหนาวที่จะมาทำอันตรายต่อผิวหนัง ความคล่องตัวในการเตะต่อยไม่ค่อยมีการต่อสู้มักจะใช้ประโยชน์จากเครื่องแต่ง กายที่หนา โดยการจับรั้งเพื่อทำการทุ่ม หรือใช้ขอบเสื้อส่วนที่เป็นปกและคอเสื้อรัดคอหรือใช้เกี่ยวพันไม่ให้คู่ ต่อสู้เคลื่อนไหวได้ ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของการต่อสู้ป้องกันตัวแบบจับทุ่ม ได้แก่ ยูโด มวยปล้ำ ไอคิโด
สำหรับ มนุษย์ที่เกิดในบริเวณอากาศอบอุ่นและค่อนข้างร้อน การแต่งกายจะแต่งด้วยเสื้อผ้าที่บาง ไม่รุ่มร่าม มีความคล่องตัวในการเตะต่อยดีการต่อสู้จึงมักจะอาศัยการเตะต่อย ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของการต่อสู้ป้องกันตัว แบบเตะต่อย เช่น มวยไทย มวยสากล เสี้ยวลิ้มของจีนคาราเต้ของญี่ปุ่น หรือเทควันโดของเกาหลี เราจะสังเกตเห็นว่า ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวบางประเภทจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่นแขนงวิชาการเตะต่อย อาจกล่าวว่า ศิลปะประเภทนี้ก็อาจจะกล่าวได้ยาก เพราะการคิดค้นทดลองฝึกฝน มักจะเลียนแบบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความคล้ายคลึงกันจึงย่อมจะเป็นไปได้
มนุษย์ ได้พยายามคิดค้นการต่อสู้มือเปล่าเพื่อให้ตนเอง ปลอดภัยจากสิ่งรอบข้าง โดยใช้อวัยวะของร่างกายเป็นอาวุธเข้าต่อสู้ เช่น มือและเท้า กำหนดระเบียบแบบแผนมีหลักเกณฑ์ในการต่อสู้สิ่งต่างๆ รวมกันเรียกว่า "มวย"
บรรพบุรุษมีความเฉลียวฉลาดในการคิดค้น ดัดแปลงและพลิกแพลงในการใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น มือ, เท้า, เข่า, ศอก และศีรษะเข้าต่อสู้ป้องกัน ปิดป้องส่วนที่อ่อนแอของร่างกายได้เป็นอย่างดี วิธีการต่อสู้และป้องกันตนเองของไทย ซึ่งจะหาการต่อสู้ของชาติอื่นมาเทียบไม่ได้ การต่อสู้มือเปล่าของไทยเป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ประจำชาติ เรียกว่า "มวยไทย"
มวย ไทยเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัวได้จริงสามารถนำ ไปใช้ได้ทั้งในการต่อสู้และในการกีฬา ศิลปะประเภทนี้บรรพบุรุษของชาติไทยใช้อบรมสั่งสอนสืบทอดกันมาให้ดำรงอยู่ ตลอดไป บรรดาชายฉกรรจ์จะได้รับการสั่งสอนฝึกฝนศิลปะประเภทนี้อย่างจัดเจนทั้งสิ้น การใช้อาวุธรบสมัยโบราณ เช่น กระบี่ กระบอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ นักรบไทยจะนำไปประกอบการต่อสู้ที่มีชั้นเชิงสูง เดิมมักจะฝึกสอนกันเฉพาะบรรดาเจ้านายชั้นสูงนับตั้งแต่พระมหากษัตริย์และขุน นางฝ่ายทหารเท่านั้น
ต่อ มาจึงแพร่หลายไปถึงสามัญชน ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากครูอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดทหารขุนพล ยอดนักรบของชาติมาแล้วได้ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต พยายามถ่ายทอดวิทยาการให้แก่ศิษยานุศิษย์ และสืบเนื่องมาจากไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในเพศบรรพชิตจึงทำให้มวยไทยกับศาสนาพุทธมีความสัมพันธ์ กันจนแยกไม่ออก ซึ่งจะสังเกตได้จากก่อนการชก นักมวยจะมีการไหว้ครู ร่ายมนต์คาถาตามร่างกายก็มีเครื่องรางของขลัง เช่น ผ้าประเจียดรัดแขน หรือมงคลสวมศีรษะ เป็นต้น
มวย ไทยเริ่มขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยใดแต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับชาติไทยด้วยซ้ำ เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปะประจำชาติของไทยเราจริงๆ ยากที่ชาติอื่นจะเลียนแบบได้
มวย ไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบจะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดา หมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อนไทยเราได้มีการรบพุ่งและสู้รบกันกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยๆ การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืนจะสู้กันมีแต่ดาบทั้งสองมือและมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้การรบพุ่งก็ต้องมีการประชิดตัว คนไทยเห็นว่าการรบด้วยดาบนั้นเป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไป บางครั้งคู่ต่อสู้อาจจะเข้ามาฟันเราได้ง่ายขึ้น ทำให้แพ้คู่ต่อสู้ได้
ต่อ มาเมื่อในหมู่ทหารได้รับการฝึกถีบ เตะแล้ว มีผู้คิดว่าทำอย่างไรเราจึงจะใช้การถีบ และเตะนั้นมาเป็นศิลปะสำหรับการต่อสู้ด้วยมือได้ จึงได้มีผู้ที่คิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับการใช้แสดงเวลามีงาน เทศกาลต่างๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้มานานเข้าชาวบ้านหรือคนไทยได้เห็นการถีบ-เตะอย่างแพร่หลาย และบ่อยเข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการฝึกหัดมวยไทยกันมากจนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำนักที่ฝึกมวยไทยก็ต้องเป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อนและมีอาจารย์ดีไว้ ฝึกสอน ดังนั้นมวยไทยสมัยนั้นจึงฝึกเพื่อมีความหมาย 2 อย่างคือ
1. เพื่อไว้สำหรับสู้รบข้าศึก
2. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตั

ฟุตซอล (FUTSAL)

         ฟุตซอล(FUTSAL)เป็น กีฬาที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก และป็นกีฬาที่ได้รับความนิยม ในหมู่ของประชาชนคนไทยทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากกีฬาฟุตซอลเป็นเกมกีฬาที่สนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจในทุก ๆ นาทีของการแข่งขัน และสามารถจัดการแข่งขันได้ตลอดทั้งปี แข่งขันได้กับทุกสภาพอากาศ ในปัจจุบันกีฬาฟุตซอลได้มีการพัฒนาไปมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านระบบการเล่นต่าง ๆ ที่ได้นำมาผสมปสานกับเป็นกีฬาประเภททีมที่ดูแล้วสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ โดยมีกฎกติกาเป็นตัวควบคุมการแข่งขัน ดังนั้นกฎกติกาที่ใช้จำเป็นต้องการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมเสมอ
 
         ใน ปัจจุบันนี้กฎกติกาที่ใช้ในการแข่งขันฟุตซอล ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และยุติธรรมกับผู้เล่นในการแข่งขัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ากติกาการแข่งขันได้มีการเปลี่ยนแปลง หากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในฝ่ายต่าง ๆ ไม่มีการติดตามการเปลี่ยนแปลง จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำข้อมูลเผยแพร่คู่มือการตัดสินฟุตซอลขึ้น โดย มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคคลทุกฝ่ายทุกระดับชั้นได้มีความรู้ในเชิงกติกาอย่างถูกต้อง และเพื่อเผยแพร่ ให้กับบุคคลที่สนใจ ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน อีกทั้งเป็นคู่มือในการศึกษาค้นคว้า การตัดสิน การฝึกสอน และการจัดการแข่งขัน ให้บุคคลทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจกติกาฟุตซอล สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์ในการพัฒนากีฬาฟุตซอลของประเทศชาติในโอกาสต่อไป